เมื่อใดที่ควรนำสุนัขตัวเมียไปทำหมัน
การนำลูกสุนัขตัวเมียไปทำหมันเป็นกระบวนการทั่วไป แต่ไม่ใช่การตัดสินใจที่คุณควรกระทำโดยที่ไม่ทราบข้อเท็จจริงทั้งหมด การนำลูกสุนัขตัวเมียไปทำหมันมีประโยชน์มากมาย แต่ก็อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อพฤติกรรมทันที โดยเฉพาะงความต้องการด้านโภชนาการของลูกสุนัข
การทำหมันตัวเมียคืออะไร
Spaying เป็นคำที่ใช้เมื่อนำลูกสุนัขตัวเมียไปทำหมัน บางคนใช้คำว่า 'Neutered' (ตอน) แม้เป็นคำที่ใช้กันทั่วไปสำหรับลูกสุนัขตัวผู้ก็ตาม
จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อฉันนำลูกสุนัขตัวเมียไปทำหมัน
เมื่อนำลูกสุนัขตัวเมียของคุณไปทำหมัน ลูกสุนัขจะต้องเข้ารับการผ่าตัดที่ดำเนินการโดยสัตวแพทย์ สัตวแพทย์จะตัดรังไข่ของลูกสุนัขออก ซึ่งอาจมีการตัดท่อนำไข่และมดลูกออกด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำแนะนำและการประเมินของสัตวแพทย์ การทำหมันตัวเมียจะทำให้สุนัขตัวเมียไม่สามารถสืบพันธุ์ได้และกำจัดวงรอบการเป็นสัดของสุนัข
เมื่อใดที่เหมาะสมที่สุดในการนำลูกสุนัขตัวเมียของฉันไปทำหมัน
หากคุณตัดสินใจที่จะทำหมันลูกสุนัขตัวเมียของคุณ ควรดำเนินการก่อนที่ลูกสุนัขจะเข้าสู่วัยเริ่มเจริญพันธุ์คืออายุระหว่าง 6-9 เดือน สุนัขพันธุ์ใหญ่และพันธุ์ยักษ์จะโตเต็มวัยช้ากว่าสุนัขพันธุ์เล็กกว่า ดังนั้น เวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการทำหมันคือเมื่อสุนัขตัวเมียเหล่านี้มีอายุมากกว่าที่ระบุข้างต้นเล็กน้อย สัตวแพทย์จะสามารถให้คำแนะนำช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการทำหมันลูกสุนัขตัวเมียของคุณ
สำหรับลูกสุนัขตัวเมีย สิ่งสำคัญคือจะต้องไม่ทำหมันก่อนอายุสามเดือน เนื่องจากอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพในภายหลัง อย่างไรก็ตาม หากคุณนำลูกสุนัขตัวเมียไปทำหมันก่อนอายุ 4 ปี อาจมีประโยชน์มากขึ้นต่อสุขภาพของสุนัขจากการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในมดลูก
การทำหมันลูกสุนัขตัวเมียของฉันมีประโยชน์อย่างไร
มีข้อดีมากมายในการทำหมันลูกสุนัขตัวเมียของคุณ ทั้งในด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของลูกสุนัข ตลอดจนถึงสภาพแวดล้อมที่บ้านของคุณ
- เนื่องจากการทำหมันช่วยลดโอกาสที่สุนัขตัวผู้จะประกาศอาณาเขตในสวนของคุณเมื่อลูกสุนัขตัวเมียของคุณเป็นสัด
- นอกจากนั้นยังสามารถกำจัดหรือลดเนื้องอกบางชนิด ซึ่งรวมถึงเนื้องอกในเต้านม รังไข่ และมดลูก
- อีกทั้งช่วยป้องกันการมีลูกสุนัขโดยไม่ตั้งใจ
พฤติกรรมและความต้องการด้านโภชนาการของลูกสุนัขตัวเมียจะเปลี่ยนไปอย่างไรหลังจากทำทำหมัน
เช่นเดียวกับการทำหมันสุนัขตัวผู้ การทำหมันลูกสุนัขตัวเมียของคุณจะทำให้ลูกสุนัขมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากระดับฮอร์โมนและระบบเผาผลาญที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง ลูกสุนัขจะไม่เป็นสัดอีกต่อไป และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเป็นสัด เช่น อาการกระสับกระส่ายหรือการร้องเมื่อเป็นสัด จะหายไปเช่นเดียวกัน นอกจากนั้นความต้องการอาหารของลูกสุนัขจะเปลี่ยนไปด้วย
หากคุณตัดสินใจที่จะนำลูกสุนัขตัวเมียของคุณไปทำหมัน สิ่งสำคัญคือคุณจะต้องตระหนักถึงความต้องการทางโภชนาการที่เปลี่ยนแปลงของสุนัข ภายหลังการผ่าตัด ลูกสุนัขของคุณอาจมีน้ำหนักเพิ่มในช่วงไม่กี่สัปดาห์หรือไม่กี่เดือน เนื่องจากระบบเผาผลาญมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก สิ่งสำคัญคือการปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับน้ำหนักที่เหมาะสมของลูกสุนัขของคุณ และวิธีปรับการกินอาหารเพื่อให้เหมาะสมกับการทำหมัน นอกจากนี้คุณยังควรให้อาหารที่ออกแบบเป็นพิเศษเพื่อสุนัขตัวเมียที่ทำหมัน ซึ่งมีความสมดุลทางโภชนาการที่เหมาะสมตามที่สุนัขต้องการ
การทำหมันลูกสุนัขตัวเมียของคุณอาจมีประโยชน์หลายอย่างสำหรับลูกสุนัขและสภาพแวดล้อมที่บ้านของคุณ แต่คุณควรตัดสินใจอย่างระมัดระวัง หากคุณมีคำถามใด ๆ ควรปรึหษาสัตวแพทย์
บทความที่เกี่ยวข้อง
โภชนาการตามความต้องการเฉพาะที่เหมาะสำหรับลูกสุนัขของคุณ
สูตรอาหารที่หลากหลายที่ช่วยสร้างเกราะป้องกันตามธรรมชาติให้กับลูกสุนัข การเจริญเติบโตที่แข็งแรง และพัฒนาระบบทางเดินอาหาร
ชอบ และแบ่งปันหน้านี้