การให้อาหารลูกสุนัขและโภชนาการ
ทำไมอาหารสำหรับลูกสุนัขจึงมีความสำคัญ
ความต้องการสารอาหารของลูกสุนัขเปลี่ยนแปลงอย่างไร
วัยหนึ่งเดือน
2 - 4 เดือน
4 - 7 เดือน
10 เดือนจนถึงช่วงโตเต็มวัย
วัยหนึ่งเดือน
2 - 4 เดือน
4 - 7 เดือน
10 เดือนจนถึงช่วงโตเต็มวัย
When does your puppy become an adult dog?
พันธุ์จิ๋ว | พันธุ์เล็ก | พันธุ์ขนาดกลาง | พันธุ์ใหญ่ | พันธุ์ยักษ์ | |
---|---|---|---|---|---|
น้ำหนักเฉลี่ยเมื่อโตเต็มวัย | ไม่เกิน 4 กก. | ไม่เกิน 10 กก. | 11 - 25 กก. | 26 - 44 กก. | 45 กก. ขึ้นไป |
ช่วงเวลาเจริญเติบโต (แรกเกิดถึงโตเต็มวัย) | 8/10 เดือน | 8/10 เดือน | 12 เดือน | 15 เดือน | 18/24 เดือน |
สารอาหารที่จำเป็นในอาหารสำหรับลูกสุนัข
ลูกสุนัขในช่วงแรกเกิด – 1 เดือนต้องการสารอาหารที่สำคัญจำนวนมากเพื่อช่วยในการเติบโตและพัฒนาการอย่างมีสุขภาพดี อาหารสำหรับลูกสุนัขต้องให้พลังงานเพียงพอ โดยเป็นโปรตีนคุณภาพดีและย่อยง่าย เพื่อการเติบโตอย่างเหมาะสม สูตรอาหารสำหรับลูกสุนัขของโรยัล คานินให้สมดุลโภชนาการที่เหมาะสมและมีสูตรเฉพาะสำหรับความต้องการของลูกสุนัขทุกขนาด ทุกไลฟ์สไตล์ และทุกสายพันธุ์
โภชนาการสำหรับลูกสุนัขโรยัล คานิน ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อความเหมาะสมของโภชนาการลูกสุนัข
Puppy Growth Program
ฉันควรให้อาหารลูกสุนัขปริมาณเท่าไหร่
ขนาดตัวของสุนัขแบ่งได้เป็น 5 ขนาดแตกต่างกันดังนี้
- พันธุ์จิ๋ว - สุนัขน้ำหนักโตเต็มวัยไม่เกิน 4 กก.
- พันธุ์เล็ก – สุนัขน้ำหนักโตเต็มวัยไม่เกิน 10 กก.
- พันธุ์ขนาดกลาง – สุนัขน้ำหนักโตเต็มวัยระหว่าง 11-25 กก.
- พันธุ์ใหญ่ - สุนัขน้ำหนักโตเต็มวัยระหว่าง 26-44 กก.
- พันธุ์ยักษ์ - สุนัขน้ำหนักโตเต็มวัยมากกว่า 45 กก.
สุนัขแต่ละสายพันธุ์มีขนาดตัวและความต้องการแตกต่างกันในขณะที่ยังเป็นลูกสุนัข ตัวอย่างเช่น
- พันธุ์จิ๋วและพันธุ์เล็ก มีขากรรไกรที่อ่อนแอกว่าและฟันเล็กกว่า จึงต้องการอาหารที่มีขนาดและเนื้อสัมผัสที่เหมาะสม
- พันธุ์ขนาดกลาง มีแนวโน้มไม่ชอบอยู่นิ่งและชอบอยู่นอกบ้าน จึงต้องการพลังงานจำนวนมากและอาหารที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ
- พันธุ์ใหญ่และพันธุ์ยักษ์ เติบโตช้าและต้องการพลังงานต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัมน้อยกว่าพันธุ์เล็ก
ลูกสุนัขไม่รู้ว่าควรจะกินอาหารปริมาณเท่าใด ดังนั้นคุณต้องควบคุมสัดส่วนอาหารให้เหมาะสมเพื่อไม่ให้ลูกสุนัขอ้วนเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสุนัขสายพันธุ์ใหญ่ การให้อาหารมากเกินไปจะทำให้ลูกสุนัขเติบโตเร็วเกินไปและทำให้เกิดปัญหาด้านกระดูกได้
ดูสัดส่วนอาหารที่แนะนำข้างซองบรรจุและชั่งน้ำหนักอาหารแต่ละมื้ออย่างละเอียด โปรดทราบว่าปริมาณที่ระบุโดยทั่วไปแล้วเป็นปริมาณอาหารที่แนะนำรายวัน ดังนั้น คุณจะต้องแบ่งอาหารตามปริมาณนี้ออกเป็นมื้อๆ ระหว่างวันของลูกสุนัข ขนมที่คุณให้แก่ลูกสุนัขต้องนับรวมอยู่ในปริมาณอาหารประจำวันด้วย เพราะการให้รางวัลเป็นขนมในปริมาณมากอาจหมายถึงการให้อาหารมากเกินไป
การกำหนดตารางเวลาการให้อาหารลูกสุนัขอย่างเหมาะสม
สายพันธุ์จิ๋วหรือสายพันธุ์เล็ก
ไม่เกิน 4 เดือน ให้อาหาร 3 มื้อต่อวัน
4-10 เดือน ให้อาหาร 2 มื้อต่อวัน
โตเต็มวัย ให้อาหาร 1-2 มื้อต่อวัน
พันธุ์ขนาดกลาง
ไม่เกิน 6 เดือน ให้อาหาร 3 มื้อต่อวัน
6-12 เดือน ให้อาหาร 2 มื้อต่อวัน
โตเต็มวัย ให้อาหาร 1-2 มื้อต่อวัน
พันธุ์ใหญ่หรือพันธุ์ยักษ์
ไม่เกิน 6 เดือน ให้อาหาร 3 มื้อต่อวัน
6-15 เดือน ให้อาหาร 2 มื้อต่อวัน
โตเต็มวัย ให้อาหาร 1 หรือ 2 มื้อต่อวัน
การเปลี่ยนแปลงตารางเวลาการให้อาหารลูกสุนัข
ในช่วงเวลาเริ่มแรกที่ลูกสุนัขหย่านม ลูกสุนัขจะต้องการอาหารสี่มื้อต่อวันตั้งแต่ช่วงเช้าถึงเย็น เมื่อถึงเวลาโตเต็มวัย สุนัขจะสามารถกินอาหารหนึ่งหรือสองมื้อต่อวัน
สุนัขพันธุ์เล็กกว่าจะเข้าสู่ช่วงโตเต็มวัยเร็วกว่าสุนัขพันธุ์ใหญ่ ดังนั้นจึงลดจำนวนมื้ออาหารได้เร็วกว่า ด้านล่างนี้เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับขนาดตัวโดยประมาณเมื่อโตเต็มวัยของลูกสุนัข แต่ควรสอบถามสัตวแพทย์ร่วมด้วยเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับตารางเวลาการให้อาหารลูกสุนัขของคุณ
ลูกสุนัขชอบกิจวัตรประจำวันที่แน่นอน และไม่ชอบให้มีความหลากหลายในอาหารเช่นที่คนชอบ เราต้องช่วยให้ลูกสุนัขรู้สึกมั่นคงปลอดภัยและไม่มีการระคายเคืองระบบย่อยอาหารโดยให้อาหารชนิดเดิม ในเวลาเดิม สถานที่เดิม และใช้ชามใส่อาหารใบเดิม
การให้อาหารแบบผสมแก่ลูกสุนัขคืออะไร
ข้อดีของการให้อาหารแบบผสมแก่ลูกสุนัข
รักษาระดับน้ำในร่างกาย
อาหารเม็ดมีปริมาณความชื้นอยู่ที่ 8% ขณะที่ในอาหารเปียกมีปริมาณความชื้นอยู่ที่ 75% เป็นอย่างน้อย
ให้รสชาติที่อร่อย
อาหารสูตรเปียกของเราได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อดึงดูดใจลูกสุนัขตัวน้อยที่เอาใจยาก
ช่วยควบคุมน้ำหนัก
อาหารเปียกมีความชื้นหรือน้ำในปริมาณมาก นั่นหมายความว่าคุณสามารถให้อาหารเปียกในปริมาณมากขึ้นโดยมีพลังงานในอาหารเท่าเดิม
ฉันควรเริ่มให้อาหารแบบผสมเมื่อใด
พฤติกรรมการให้อาหารที่ดีเพื่อลูกสุนัขของคุณ
ควบคุมสัดส่วนอาหารอย่างเหมาะสม
ตรวจสอบคำแนะนำเรื่องอาหารได้จากข้อความข้างถุงบรรจุอาหารและดูแลสัดส่วนอาหารแต่ละมื้ออย่างละเอียด เพื่อหลีกเลี่ยงการให้อาหารลูกสุนัขมากเกินไป โปรดทราบว่าปริมาณที่แนะนำนั้นเป็นปริมาณต่อวัน ไม่ใช่ต่อมื้ออาหาร
หลีกเลี่ยงอาหารคน
สุนัขต้องการสารอาหารที่จำเป็นแตกต่างจากคน และอาหารที่ดีต่อคนอาจทำให้สุนัขปวดท้องรุนแรงได้ อีกทั้งการป้อนหรือการให้อาหารคนแก่ลูกสุนัขยังทำให้เกิดพฤติกรรมการกินที่ไม่ดีด้วย
ข้อควรระวังเมื่อให้ขนม
ขนมต้องเป็นส่วนหนึ่งในปริมาณอาหารที่แนะนำต่อวันโดยรวมของลูกสุนัขเพื่อไม่เป็นการให้ขนมมากเกินไป จำกัดปริมาณที่ให้และให้เฉพาะในเวลาที่เหมาะสมหลังจากลูกสุนัขได้เรียนรู้บางอย่างที่ดีเท่านั้น
จำกัดกิจกรรมก่อนและหลังการให้อาหาร
เพื่อป้องกันอาการปวดท้อง พยายามไม่ให้ลูกสุนัขกระโดดหลังกินอาหารประมาณหนึ่งถึงสองชั่วโมง และอย่าให้อาหารทันทีหลังจากลูกสุนัขเล่นซุกซนมาก
ให้อาหารลูกสุนัขเมื่อคุณรับประทานอาหารเสร็จ
เนื่องจากสุนัขเป็นสัตว์ที่ชอบอยู่เป็นฝูง และต้องมีลำดับชั้นในฝูงที่ชัดเจน ดังนั้น คุณต้องแสดงให้ลูกสุนัขเห็นว่าคุณและครอบครัวของคุณมีสถานะเป็นผู้นำของฝูงโดยการให้อาหารลูกสุนัขต่อเมื่อคุณรับประทานอาหารเสร็จแล้วเท่านั้น
ไม่รบกวนลูกสุนัขขณะกินอาหาร
สิ่งรบกวนจะทำให้ลูกสุนัขผละออกจากชามอาหาร บริเวณวางชามอาหารของสุนัขควรเงียบสงบ ดูแลให้ลูกสุนัขมีความปลอดภัยขณะกินอาหาร แต่ไม่เข้าไปวุ่นวายด้วย เพราะอาจกระตุ้นให้ลูกสุนัขเกิดพฤติกรรมหวงของกินได้
กำหนดจังหวะการกิน
ถ้าลูกสุนัขชอบกินอาหารรวดเร็วโดยไม่ได้เคี้ยว ให้ลองใช้ชามอาหารช่วยกินช้าหรือของเล่นใส่อาหาร แม้ว่าลูกสุนัขจะมีนิสัยกินช้า ให้เก็บชามใส่อาหารหลังเวลา 15 ถึง 20 นาที เพื่อไม่ให้ลูกสุนัขมีนิสัยชอบกินอยู่เรื่อย
ควบคุมสัดส่วนอาหารอย่างเหมาะสม
ตรวจสอบคำแนะนำเรื่องอาหารได้จากข้อความข้างถุงบรรจุอาหารและดูแลสัดส่วนอาหารแต่ละมื้ออย่างละเอียด เพื่อหลีกเลี่ยงการให้อาหารลูกสุนัขมากเกินไป โปรดทราบว่าปริมาณที่แนะนำนั้นเป็นปริมาณต่อวัน ไม่ใช่ต่อมื้ออาหาร
หลีกเลี่ยงอาหารคน
สุนัขต้องการสารอาหารที่จำเป็นแตกต่างจากคน และอาหารที่ดีต่อคนอาจทำให้สุนัขปวดท้องรุนแรงได้ อีกทั้งการป้อนหรือการให้อาหารคนแก่ลูกสุนัขยังทำให้เกิดพฤติกรรมการกินที่ไม่ดีด้วย
ข้อควรระวังเมื่อให้ขนม
ขนมต้องเป็นส่วนหนึ่งในปริมาณอาหารที่แนะนำต่อวันโดยรวมของลูกสุนัขเพื่อไม่เป็นการให้ขนมมากเกินไป จำกัดปริมาณที่ให้และให้เฉพาะในเวลาที่เหมาะสมหลังจากลูกสุนัขได้เรียนรู้บางอย่างที่ดีเท่านั้น
จำกัดกิจกรรมก่อนและหลังการให้อาหาร
เพื่อป้องกันอาการปวดท้อง พยายามไม่ให้ลูกสุนัขกระโดดหลังกินอาหารประมาณหนึ่งถึงสองชั่วโมง และอย่าให้อาหารทันทีหลังจากลูกสุนัขเล่นซุกซนมาก
ให้อาหารลูกสุนัขเมื่อคุณรับประทานอาหารเสร็จ
เนื่องจากสุนัขเป็นสัตว์ที่ชอบอยู่เป็นฝูง และต้องมีลำดับชั้นในฝูงที่ชัดเจน ดังนั้น คุณต้องแสดงให้ลูกสุนัขเห็นว่าคุณและครอบครัวของคุณมีสถานะเป็นผู้นำของฝูงโดยการให้อาหารลูกสุนัขต่อเมื่อคุณรับประทานอาหารเสร็จแล้วเท่านั้น
ไม่รบกวนลูกสุนัขขณะกินอาหาร
สิ่งรบกวนจะทำให้ลูกสุนัขผละออกจากชามอาหาร บริเวณวางชามอาหารของสุนัขควรเงียบสงบ ดูแลให้ลูกสุนัขมีความปลอดภัยขณะกินอาหาร แต่ไม่เข้าไปวุ่นวายด้วย เพราะอาจกระตุ้นให้ลูกสุนัขเกิดพฤติกรรมหวงของกินได้
กำหนดจังหวะการกิน
ถ้าลูกสุนัขชอบกินอาหารรวดเร็วโดยไม่ได้เคี้ยว ให้ลองใช้ชามอาหารช่วยกินช้าหรือของเล่นใส่อาหาร แม้ว่าลูกสุนัขจะมีนิสัยกินช้า ให้เก็บชามใส่อาหารหลังเวลา 15 ถึง 20 นาที เพื่อไม่ให้ลูกสุนัขมีนิสัยชอบกินอยู่เรื่อย
วิธีเปลี่ยนอาหารของลูกสุนัข
การเปลี่ยนอาหารของลูกสุนัขแบบทันทีทันใดอาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง และสามารถส่งผลให้ลูกสุนัขไม่ไว้วางใจในอาหารนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนไปให้อาหารสูตรสำหรับสุนัขโตเต็มวัย เปลี่ยนยี่ห้ออาหาร หรือเริ่มให้อาหารแบบผสม คุณต้องช่วยให้ลูกสุนัขคุ้นเคยกับอาหารใหม่แบบค่อยเป็นค่อยไป ขอแนะนำให้คุณเปลี่ยนสัดส่วนของอาหารตลอดทั้งสัปดาห์ดังนี้
- วันที่ 1 และ 2: อาหารเดิม 75% ผสมกับอาหารใหม่ 25%
- วันที่ 3 และ 4: อาหารเดิม 50% ผสมกับอาหารใหม่ 50%
- วันที่ 5 และ 6: อาหารเดิม 25% ผสมกับอาหารใหม่ 75%
- วันที่ 7: อาหารใหม่ 100%
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการให้อาหารลูกสุนัข
อาหารทำเองอาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับลูกสุนัข เพราะยากที่จะทราบว่าลูกสุนัขได้รับสมดุลทางโภชนาการครบถ้วนตามที่ต้องการหรือไม่ อีกทั้งยังเน่าเสียได้รวดเร็ว มักมีค่าใช้จ่ายแพงกว่า และใช้เวลาปรุงมากกว่า อาหารสำหรับลูกสุนัขที่ผลิตอย่างมีคุณภาพดีเหมาะกับความต้องการเฉพาะของลูกสุนัข ให้ความสะดวกทั้งรูปแบบอาหารเม็ดและอาหารเปียกที่อยู่ในกระป๋องหรือซอง
ค้นหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม
ตอบคำถามเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงของคุณ
รัับคำแนะนำเฉาพะทาง
ปลดล็อคการติดตามสุขภาพสัตว์เลี้ยงของคุณ