ความสูงวัยส่งผลต่อแมวอย่างไร
ในแต่ละช่วงของชีวิตแมวนั้น แมวจะต้องการการดูแลที่แตกต่างกันเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี ไม่ว่าจะเป็นระยะเจริญเติบโตในระหว่างช่วงชีวิตที่เป็นลูกแมว หรือการส่งเสริมสุขภาพของแมวในช่วงสูงวัยก็ตาม แต่เมื่อไรกันที่แมวของคุณจะกลายเป็นแมวสูงวัย และมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างที่คุณอาจสังเกตเห็นได้
อายุของแมวเมื่อนับเป็นปีแบบมนุษย์
เช่นเดียวกับมนุษย์ กระบวนการของความสูงวัยเป็นประสบการณ์เฉพาะบุคคล และแมวแต่ละตัวก็จะแสดงสัญญาณของความสูงวัยในเวลาที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วร่างกายของแมวจะเริ่มแสดงสัญญาณแรกแห่งความสูงวัยที่ระดับเซลล์ในช่วงอายุเจ็ดปี แต่คุณจะไม่สามารถมองเห็นอาการภายนอกได้จนกว่าแมวของคุณจะอายุประมาณ 12 ปี ตั้งแต่จุดนี้เป็นต้นไป เซลล์ในร่างกายของแมวจะชะลอตัวลงและการทำงานของร่างกายจะมีประสิทธิภาพน้อยลง รวมถึงหัวใจและระบบภูมิคุ้มกันของแมว
สัตวแพทย์ได้จัดกลุ่มอายุแมวไว้ดังนี้
- แมวโตเต็มวัยเมื่ออายุ 7 ถึง 10 ปี
- แมวเข้าสู่ช่วงสูงวัยเมื่ออายุ 11 ถึง 14 ปี
- แมวจะถูกจัดว่าเป็นแมววัยชราเมื่ออายุ 15 ปีขึ้นไป
เมื่อเปรียบเทียบความสูงวัยเป็นจำนวนปีของมนุษย์แล้ว แมวอายุ 10 ปีจะเทียบเท่ากับมนุษย์อายุ 56 ปี ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับแมวที่จะมีชีวิตอยู่ถึง 20 ปี ซึ่งเทียบเท่ากับมนุษย์อายุ 96 ปี
สัญญาณของความสูงวัยในแมวของคุณ
แม้ว่าแมวแต่ละตัวจะแสดงสัญญาณของความสูงวัยแตกต่างกัน มีบางอาการของความสูงวัยที่พบบ่อยซึ่งเกิดขึ้นกับแมวทุกตัว การดมกลิ่น รับรส และการได้ยินของแมวจะลดน้อยลง ซึ่งส่งผลต่อความอยากอาหาร นอกจากนี้ แมวยังได้รับผลกระทบจากปัญหาช่องปาก เช่น ฟันสึก โรคเหงือก หรือฟันหลอ การรวมกันของปัญหาเหล่านี้สามารถทำให้น้ำหนักลด
ข้อต่อของแมวมีความยืดหยุ่นน้อยลง โดยเฉพาะหากได้รับผลกระทบจากโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรงและปัญหาการเคลื่อนไหว ความยืดหยุ่นนี้ยังส่งผลกระทบต่อความสามารถในการดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อขนและผิวหนังของแมว
ขนแมวอาจซีดลง และคุณอาจเห็นว่าขนแมวมีคุณภาพลดลงเพราะต่อมไขมันซึ่งผลิตน้ำมันบำรุงสำหรับผิวหนังมีประสิทธิภาพลดลง ความสามารถตามธรรมชาติในการสร้างภูมิคุ้มกันมีแนวโน้มลดลงตามอายุ ทำให้แมวมีความเสี่ยงของการติดเชื้อและเป็นโรค กระบวนการเผาผลาญหลายอย่าง เช่น ระบบย่อยอาหารก็เปลี่ยนไปเช่นกัน โดยความสามารถในการย่อยไขมันและโปรตีนลดลงเมื่อแมวสูงอายุขึ้นเรื่อยๆ
แมวสูงวัยอาจแสดงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงการขาดปฏิสัมพันธ์หรือส่งเสียงในเวลาที่ไม่ได้เข้าสังคม แมวอาจนอนหลับมากขึ้นแต่หลับลึกน้อยลง ซึ่งรบกวนกับกิจวัตรประจำวันและทำให้เกิดปัญหาพฤติกรรม
อาการของโรคในแมวสูงวัย
บางครั้งอาการเหล่านี้ในแมวที่อายุมากไม่ใช่สัญญาณของการ ‘แก่ขึ้น’ แต่อาจเป็นอาการของปัญหาที่ใหญ่กว่า
แมวมีแนวโน้มที่จะซ่อนอาการแทนที่จะแสดงอาการเจ็บปวดผ่านสัญญาณที่เห็นได้ชัดเจน มีการเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมลดลง ซึ่งอาจทำให้ปัญหารุนแรงขึ้น เช่น การเดินกะเผลก หรือส่งเสียงดัง ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทราบการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยของพฤติกรรมแมว เช่น เบื่ออาหาร หรือไม่กระโดดขึ้นไปที่ประจำ หากมีอาการดังกล่าว โปรดพาแมวไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกาย
มีอาการทั่วไปที่ควรระวังในแมวสูงวัยซึ่งอาจบ่งบอกถึงปัญหาที่ซ่อนอยู่:
- การเบื่ออาหารหรือน้ำหนักลดอาจบ่งบอกถึงปัญหาการย่อยอาหาร
- ปัสสาวะหรือกระหายน้ำเพิ่มอาจเป็นสัญญาณของปัญหาที่ระบบทางเดินปัสสาวะ
- เดินกะเผลก หรือลุกยาก อาจเป็นโรคข้ออักเสบ
- มีความสับสน กังวล หรือแสดงพฤติกรรมผิดปกติ
ด้วยการพบสัตวแพทย์เป็นประจำ คุณจะสามารถตรวจสอบสภาวะร้ายแรงก่อนลุกลาม และทำให้แน่ใจว่าคุณดูแลแมวสูงวัยของคุณอย่างดีที่สุด
บทความที่เกี่ยวข้อง
ชอบ และแบ่งปันหน้านี้